"Ars longa vita brevis"
"ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น"
Cr: อาจารย์ศิลป์ พีระศรี
นิยาม "Ars longa vita brevis" โดย อาจารย์ ศิลป์ พีระศรี
ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี (Professor Silpa Bhirasri) ประติมากรชาวอิตาลีผู้วางรากฐานการศึกษาศิลปะสมัยร่วมสมัยของไทย
อ.ศิลป์มีเดิมว่า คอร์ราโด เฟโรจี (Corrado Feroci) เกิดวันที่ 15 กันยายน
พ.ศ. 2435 ที่นครฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี บิดา-มารดาทำอาชีพค้าขาย
สำเร็จการศึกษาวิชาประติมากรรมและจิตรกรรมจากราชวิทยาลัยศิลปะแห่งนครฟลอเรนซ์ (The
Royal Academy of Art of Florence) จากนั้นก็สอบได้ปริญญาบัตรเป็นศาสตราจารย์
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ต้องการช่างปั้นมาช่วยฝึกฝนคนไทยให้มีความรู้ความสามารถด้านประติมากรรมอย่างแบบตะวันตก จึงติดต่อกับรัฐบาลอิตาลี เมืองหลวงแห่งศิลปะตะวันตกในสมัยนั้น ในที่สุดทางรัฐบาลอิตาลีก็เสนอประติมากรนาม คอร์ราโด เฟโรชี ท่านเดินทางมาถึงประเทศไทยในปี 2466 โดยเข้ารับราชการในตำแหน่งช่างปั้น กรมศิลปากร กระทรวงวัง
จากนั้นในปี 2476 ท่านได้ก่อตั้งโรงเรียนศิลปะแห่งแรกของไทยคือ “โรงเรียนประณีตศิลปกรรม” สังกัดกรมศิลปากร เพื่อฝึกหัดอบรมวิชาจิตรกรรมและประติมากรรม ต่อมาในปี 2480 ได้ยกฐานะขึ้นเป็น “โรงเรียนศิลปากร แผนกช่าง” และในปี 2486 ได้เปลี่ยนเป็น “มหาวิทยาลัยศิลปากร” โดยเปิดสอนคณะจิตรกรรมและประติมากรรมเป็นคณะแรก
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ต้องการช่างปั้นมาช่วยฝึกฝนคนไทยให้มีความรู้ความสามารถด้านประติมากรรมอย่างแบบตะวันตก จึงติดต่อกับรัฐบาลอิตาลี เมืองหลวงแห่งศิลปะตะวันตกในสมัยนั้น ในที่สุดทางรัฐบาลอิตาลีก็เสนอประติมากรนาม คอร์ราโด เฟโรชี ท่านเดินทางมาถึงประเทศไทยในปี 2466 โดยเข้ารับราชการในตำแหน่งช่างปั้น กรมศิลปากร กระทรวงวัง
จากนั้นในปี 2476 ท่านได้ก่อตั้งโรงเรียนศิลปะแห่งแรกของไทยคือ “โรงเรียนประณีตศิลปกรรม” สังกัดกรมศิลปากร เพื่อฝึกหัดอบรมวิชาจิตรกรรมและประติมากรรม ต่อมาในปี 2480 ได้ยกฐานะขึ้นเป็น “โรงเรียนศิลปากร แผนกช่าง” และในปี 2486 ได้เปลี่ยนเป็น “มหาวิทยาลัยศิลปากร” โดยเปิดสอนคณะจิตรกรรมและประติมากรรมเป็นคณะแรก
ท่านได้ดำรงตำแหน่งคณบดีคนแรกจนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 14
พฤษภาคม 2505 ขณะอายุได้ 70 ปี
นับว่าท่านเป็นผู้บุกเบิกวางรากฐานศิลปะร่วมสมัยของไทย
สร้างลูกศิษย์ซึ่งกลายเป็นศิลปินคนสำคัญจำนวนมากในประเทศไทย
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศอิตาลียอมแพ้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตร
ชาวอิตาเลียนในประเทศไทยจึงตกเป็นจำเลยของเยอรมนีและญี่ปุ่น
แต่ทางรัฐบาลไทยได้ขอควบคุมตัวท่านไว้เอง
และหลวงวิจิตรวาทการได้ทำเรื่องโอนสัญชาติมาเป็นไทย และใช้ชื่อใหม่ว่า “นายศิลป์
พีระศรี”
ตลอดเวลาเกือบ 40 ปีที่รับราชการในประเทศไทย ท่านได้อุทิศชีวิตให้แก่วงการศิลปะและการศึกษาศิลปะของไทย
โดยได้ออกแบบและสร้างสรรค์อนุสาวรีย์ที่สำคัญของชาติไว้จำนวนมาก อาทิ
พระราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และพระเจ้าตากสิน
ประติมากรรมประดับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล ฯลฯ
ท่านได้เขียนบทความและตำราเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลปะโบราณคดี
และศิลปะร่วมสมัยไว้ราว 50 เรื่อง
ท่านเป็นผู้ริเริ่มให้ความสำคัญเรื่องการอนุรักษ์ศิลปะไทย
ทำให้ชาวไทยและชาวโลกได้เห็นคุณค่าของศิลปะไทย
ท่านได้รับการยกย่องให้เป็น
“บิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ของประเทศไทย” และถือเอาวันที่ 15 กันยายนของทุกปีเป็น
“วันศิลป์ พีระศรี” ต่อมาได้มีการก่อตั้ง “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติศิลป์ พีระศรี
อนุสรณ์” (Silpa Bhirasri National Museum) ในปี 2527 บริเวณอาคารของกรมศิลปากร
บริเวณมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งท่านเป็นผู้ออกแบบ ทำงานศิลปะ สอนหนังสือ
และพำนักอยู่จนกระทั่งสิ้นชีวิต
อ.ศิลป์ พีระศรีเคยกล่าวเอาไว้ว่า “ศิลปะยืนยาว
ชีวิตสั้น” (Ars longa, vita brevis)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น