วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556
อาลัยยิ่ง พี่ตั้ม MMFK
สวัสดีชาวบล๊อก ศิลป์-ศิลปะ ทุกท่าน ในวันนี้เรามีเรื่องที่หน้าเสียใจและรู้สึกเสียดายคนที่มีฝีมือในด้านงานศิลปะกราฟิกดีไซค์ ของประเทศไทยคนนึงไปอย่างไม่คาดฝันและคงจะไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น
วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556
ศิลปะในทัศนะของท่านพุทธทาสภิกขุ
ศิลปะในทัศนะของท่านพุทธทาสภิกขุ
สวัสดีเพื่อนๆทุกคนวันนี้ มีเรื่องราวดีๆมานำเสนออีกแล้ว คราวนี้เปลี่ยนบรรยากาศ เดินทางไกลไป600กิโลเมตร ณ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี บ้านเกิดของเราเอง ที่นี้คือ สวนโมกข์พลาราม หรืิอ วัดธารน้ำไหล สถานที่ๆคุ้นเคยของชาวสุราษฎร์ ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก เพราะ สถานที่แห่งนี้คือถิ่นกำเนิดของ ท่านพุทธาทาสภิกขุ กวีเอกของโลก เราภาคภูมิใจมากที่ได้เกิดในจังหวัดนี้....
เรามีโอกาสได้ตามพี่ชายของเราไปช่วยถ่ายรายการ พี่เราเป็นช่างภาพอยู่สถานีโทรทัศน์ NBT หนะพี่เราไปถ่ายงาน"สุขภาพใจ" เราเลยไม่พลาดที่จะเก็บเกี่ยวเรื่องราวดีๆด้านศิลปะมาฝากเพื่อนๆ
การทำให้ศิลปะและสื่อแห่งศรัทธามีบทบาทจำเพาะต่อการศึกษาอบรมทางจิตใจ โดยทั่วไปนั้น งานศิลปะทางศาสนาที่มีมาในอดีต มักทำหน้าที่เป็นบันทึกจรดจารเชิงประวัติศาสตร์ รวมทั้งทำเป็นสิ่งตบแต่งศาสนสถานให้สวยงามให้สัปปายะต่อความเจริญงอกงามทางจิตใจ
ทว่าการทำขึ้นเพื่อให้เป็นสื่อและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้และเป็นวิธีการให้การศึกษาอบรมโดยตรงอย่างโรงมโหรสพทางจิตวิญญาณที่สวนโมกข์นี้ เป็นวิธีการที่พบเห็นได้น้อยมาก
โรงมหรสพทางจิตวิญญาณ สวนโมกข์ เพื่อความรื่นรมย์เบิกบานของชีวิต
การสร้างพื้นที่ขึ้นใหม่ที่บูรณาการทางศิลปะ ศาสนา และการศึกษาอบรม ศาสนสถานโดยทั่วไป ก็มักเป็นโครงสร้างพื้นฐานเพื่อทำกิจกรรมทางศาสนาและเพื่อการอยู่อาศัยของชุมชนทางศาสนาที่เอื้อต่อการศึกษาอบรมในแนวทางที่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติในพระธรรมวินัย การอบรมสั่งสอนก็มีแหล่งเฉพาะ เช่น บนศาลา บนธรรมมาส และในพื้นที่ที่สร้างขึ้นจำเพาะเมื่อมีกิจกรรมทางศาสนา ทว่า กรณีโรงมโหรสพทางจิตวิญญาณ จัดว่าเป็นการทำขึ้นอย่างเป็นศาสนสถานอีกชนิดหนึ่งให้มีบทบาทต่อการทำกิจกรรมให้ศึกษาอบรมทางศาสนธรรม ผ่านสื่อและการผสมผสานวิธีการต่างๆที่เห็นว่ามีประสิทธิภาพ เป็นสื่อและอาคารสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ที่สามารถเดินเข้าไปและก่อเกิดประสบการณ์ที่ลึกซึ้งทางจิตวิญญาณด้วยตนเองได้....
ขอหยิบเอาบางช่วงบางตอนจาก
********พุทธทาสภิกขุ, ฟ้าสางระหว่าง 50 ปีที่มีสวนโมกข์ , ธรรมโฆษณ์ เล่มที่ 46.ง, เรื่องฟ้าสางในทาง-พุทธศิลป, (กรุงเทพมหานคร: การพิมพ์พระนคร, 2529), หน้า 401–412.
ศิลปะกับความงาม
พุทธทาสภิกขุยังได้กล่าวถึงศิลปะและความงามในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ หรือเป็นวิธีการ เช่น การใช้ชีวิตหรือการดําเนินชีวิต ถ้าการใช้หรือวิธีการที่ใช้นั้นมีผล ออกมาเป็นความสุขไม่ก่อให้เกิดทุกข์ ก็เป็นศิลปะอย่างยิ่ง ท่านเรียกว่าศิลปะของการดํารง ตนอยู่เหนือทุกข์หรือเหนือปัญหาทั้งปวง ข้อความท่ีท่านได้กล่าวไว้มีใจความว่า ศิลปะ มี ความงดงามอยู่ในเนื้อตัวของศิลปะ ที่ควรสนใจที่สุด หรือมีความงามอย่างสูงสุด ก็คือศิลปะ แห่งการดํารงตนอยู่เหนือความทุกข์ ถ้าใช้คําส้ัน ๆ ก็ต้องพูดว่า การดํารงตนอยู่เหนือความ ทุกข์หรือปัญหาทั้งปวง ถ้าท่านเข้าใจก็จะมองเห็นได้ทันทีว่า มันเป็นเคล็ดหรือเป็นเคล็ดลับ ในการใช้ความงามเป็นเครื่องแก้ปัญหา หรือว่าการแก้ปัญหานั้น ก็มีเคล็ดลับหรือความ งาม อยู่ในตัวมันเองด้วย
ตามข้อความนี้แสดงให้เห็นว่า พุทธทาสภิกขุมีทัศนะทางปรัชญาศิลปะที่เชื่อว่า ความงามอยู่ที่ศิลปะ ความงามไม่ได้อยู่ที่จิตใจ และไม่ใช่เป็นสิ่งที่มีอยู่แบบอุดมคติ ซึ่ง ท่านได้กล่าวไว้ว่า มีความงามอยู่ในเนื้อตัวของศิลปะ แต่ท่านได้ขยายความต่อไปว่า เป็น เคล็ดลับในการใช้ ซึ่งการใช้นั้นมีความงามอยู่ในตัวของมันเอง ซึ่งอาจจะหมายถึงว่าความงามไม่ใชรอยู่ที่วัตถุหรือศิลปะ แต่ความเป็นศิลปะนั้นอยู่ที่การใช้ เมื่อใช้เป็นใช้ถูกก็แก้ปัญหา ได้ นั่นเป็นศิลปะและมีความงามอยู่ที่การใช้ ตามคํากล่าวนี้ไม่ใช่หมายความว่าเป็นการใช้ ศิลปะแต่เป็นศิลปะของการใช้ ความงามจึงไม่ใช่สิ่งที่ถูกสร้างขึ้น หรือทําให้มีขึ้นด้วยการ สร้างศิลปะหรือการใชีศิลปะ เพราะพุทธทาสภิกขุกล่าวว่า การใช้นั้นมีความงามอยู่ในตัว
พุทธทาสภิกขุได้กล่าวถึงการทําวัตถุให้มีความงามที่เรียกกันว่าเป็นศิลปะนั้นว่า เป็นการใช้ประโยชน์จากความงาม ด้วยเหตุที่ความงามนั้นเป็นที่ถูกใจและชอบใจของคน ทั่วไป การใช้ประโยชน์จากความงามนั้น มีจุดมุ่งหมายหรือเจตนาของผู้ใช้ศิลปะนั้นแฝงอยู่ ซึ่งพุทธทาสภิกขุกล่าวว่า เป็นการเปลี่ยนจากจุดมุ่งหมายเพื่อชีวิตหรือเพื่อจิตวิญญาณ ไป เป็น การสร้างแรงจูงใจหรือดึงดูดจิตใจของผู้คนให้หันไปหลงใหลกับความงามความเป็น ศิลปะ เพื่อประโยชน์อื่น เช่น เพื่อขายสินค้า เป็นต้น ซึ่งในข้อนี้พุทธทาสภิกขุไม่ได้ปฏิเสธว่า การทําเช่นน้ันไม่ใชรการสร้างศิลปะ พุทธทาสภิกขุยอมรับว่ามีความเป่นศิลปะอยู่จริง แต่ ท่านปฏิเสธศิลปะนั้นเมื่อมองหาประโยชน์จากมันไม่ได้ ในข้อนี้ท่านได้กล่าวไว้ว่า เมื่อ มองดูกันในทางนามธรรม ทางจิตใจ และทางสติปัญญาด้วย ก็จะเห็นว่าความงดงามน่า เลื่อมใสที่สุดของมนุษย์เรา ก็คือการที่สามารถดํารงตนอยู่เหนือความทุกข์ ทีนี้มันก็เปลี่ยน เป็นจนเอามาใช่เพื่อความหลอกลวง ความเอาเปรียบผู้อื่น เพื่อได้กําไรมาก คําว่า ศิลปะ เลยกลายเป็นมีความหมายที่น่ารังเกียจ ภาษาไทยใช้รวม ๆ กัน ศิลปะบริสุทธิ์ กับศิลปะ หลอกลวง แต่ภาษาฝรั่งเขามีการแยกกันไม่ปนกัน คือมันเป็นศิลปะที่น่าเลื่อมใส ก็เรียกไป อย่างหนึ่ง ศิลปะที่หลอกลวง ของเทียม ของปลอมอย่างนี้ ก็เรียกว่าของศิลปะหลอกลวง นี้ก็ใช่ไปอีกอย่างหนึ่ง มีคําว่า artistic ศิลปะแท้ ศิลปะจริง มีคําว่า artificial หมายถึงศิลปะ ปลอมศิลปะเพื่อการหลอกลวง ศิลปะจริงกลายเป็นไม่ค่อยจะมีคนสนใจ หรือให้ความ เคารพ มาหลงใหลในศิลปะปลอมกันเสียโดยมาก ดังนั้นมันจึงมีของที่ลวงตา พรางตา ให้ หลงใหล แลีวก็หลงใหลกันไปท้ังโลกก็ว่าได้ มันก็ลดจากเร่ืองทางจิตใจอันสูงสุด มาเป็นเร่ือง ทางวัตถุ เช่นสินค้าต่าง ๆ เป็นเร่ืองของความงมงายหลงใหลของบุคคลผู้ซื้อหาผู้พอใจ แล้ว ในที่สุดกลายเป็นเรื่องเกินจําเป็น เกินจําเป็น หลงใหลในความสวยความงาม ความ หลอกลวงนี้ มากเกินจําเป็น แล้วก็รู้จักกันแต่ในด้านวัตถุมากขึ้นทุกที อาตมาบอกแล้วว่า ยอดของศิลปะน้ัน เป็นเรื่องดํารงชีวิตจิตใจให้อยู่เหนือความทุกข์นี่เป็นศิลปะสูงสุดใน พระพุทธศาสนา เรียกว่าเป็นศิลปะของชาวพุทธ ชาวพุทธที่แท้จริง จะต้องมีศีลปะในการที่ ช่วยกันปลดเปลื้องความทุกข์ในทางจิตทางใจ หรือปัญหาของสังคม เดี๋ยวนี้เมื่อมันเปลี่ยนไปเป็นเรื่องทางวัตถุ ศิลปะของชาวพุทธเลยกลายเป็นเรื่องทางวัตถุ เช่นโบสถ์สวย ๆ เจดีย์สวย ๆ พระพุทธรูปสวย ๆ เป็นต้น
ข้อความที่นํามากล่าวข้างต้นนี้แสดงให้เห็นว่า พุทธทาสภิกขุมองศิลปะว่ามี 2 แบบ คือ ศิลปะทางวัตถุอย่างหนึ่ง กับศิลปะทางจิตวิญญาณอีกอย่างหนึ่ง และศิลปะนั้นมี จุดมุ่งหมายสองอย่าง คือ ศิลปะเพื่อให้ความเพลิดเพลินความถูกใจชอบใจ เป็นความงาม ที่รู้สึกได้สัมผัสได้ทางประสาทสัมผัสรับรู้ที่เรามี คือ ทางอายตนะทั้ง ๕ อย่างหนึ่ง กับศิลปะ เพื่อให้ความงามที่สัมผัสได้ทางจิตวิญญาณอย่างหนึ่ง และพุทธทาสภิกขุได้กล่าวไว้ว่า ธรรมในพระพุทธศาสนานั้น มีความงามเป็นความงามอย่างยิ่งทั้งในส่วนเบื้องต้นท่ามกลาง และเบื้องปลาย ด้วยเหตุที่ธรรมนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อชีวิตและจิตวิญญาณของมนุษย์ ซึ่ง พุทธทาสภิกขุได้กล่าวไว้อีกตอนหนึ่งว่า ทีนี้จะดูสิ่งที่เรียกว่า ศิลปะ ที่เกี่ยวกับธรรมะใน พระพุทธศาสนาของเรา ดังท่ีมปี รากฏอยู่ในพระบาลี แล้วก็เป็นคําตรัสของพระพุทธเจ้าเอง ท่านตรัสว่า พรหมจรรย์นี้มีความงาม พรหมจรรย์ การปฏิบัติดับทุกข์นี้มีความงาม งามทั้ง เบื้องต้น งามทั้งท่ามกลาง และงามทั้งเบื้องปลาย งามเบื้องต้น งามท่ามกลาง งามเบื้อง ปลาย “ท่านจงประกาศพรหมจรรย์ให้สมกับที่ว่า พรหมจรรย์น้ีมีความงามเบื้องต้น ท่ามกลาง และเบ้ืองปลาย” ในเบ้ืองต้นเราหมายถึงปริยัติ การศึกษาเล่าเรียน เรียนพระธรรม เรียนให้รู่จริงให้งดงาม เช่นเรียนพระไตรปิฎก ถ้ารู้จริงนี้งดงามอย่างยิ่ง ในทางของการเรียน แล้วก็จงปฏิบัติให้งดงาม คือปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญา ให้ครบถ้วนบริบูรณ์นี้เรียกว่างามใน ท่ามกลาง แล้วงามในเบื้องปลายก็คือ ผลที่เกิดขึ้นมาจากการปฏิบัติ เป็นโลกุตตรธรรม อยู่ เหนือโลก เหนือปัญหา เหนือความทุกข์ ถึงขนาดอยู่เหนือโลก เหนือปัญหา เหนือความทุกข์ และจะไม่ให้งามได้อย่างไร แล้วมันจะมีงามอะไรไหนจะมางามยิ่งไปกว่า อยู่เหนือโลก เหนือ ความทุกข์เหนือปัญหา โดยประการทั้งปวง ที่เรียกว่ามรรค ผล นิพพาน นั่นแหละงามในเบื้อง ปลายงามในเบื้องต้น คือปริยัติ เรียนพระไตรปิฎกกันก็แล้วกัน พระสุตตันตะ วินัย และ อภิธรรม แล้วงามตรงกลาง ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา แล้วงามในท่ีสุดก็คือ มรรค ผล นิพพาน มันจะรู้สึกงามแต่ผู้ที่มีจิตใจ หรือมีตาทางปัญญาทางจิตใจ จึงจะมองเห็นว่ามีความงาม อย่างไร ต้องครบถ้วน ต้องงามครบถ้วนทั้งเบื้องต้น ทั้งท้ามกลาง ทั้งเบื้องปลาย ถ้าไม่งามทั้ง 3 สถานแล้ว ยังไม่ชื่อวราบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง ไมรหมดจดสิ้นเชิง ไม่เต็มเปรี่ยมสิ้นเชิง มัน ครึ่ง ๆ กลาง ๆ ต้องให้งามทั้งเบื้องต้นท่ามกลาง และเบื้องปลาย จึงจะเรียกว่าบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงดังนั้น พุทธบริษัทแท้จริงต้องมีความงาม พุทธบริษัทแท้จริงต้องมีความงาม ใน การเล่าเรียน ในการศึกษา ในการปฏิบัติ หรือจะพูดอีกอย่างหนึ่งก็ได้คือเอาประโยชน์เป็น หลัก ก็พูดว่า ประโยชน์ในทิฏฐธรรม คือเห็น ๆ กันอยู่อย่างคนธรรมดา นี้ก็งาม แล้วที่สูงเหนือ ไปกวีาธรรมดา ที่คนธรรมดามองไม่เห็น แต่คนมีปัญญามองเห็น นี้ก็งาม แล้วก็่งามสูงสุด งามสูงสุด คอื ถึงการ-บรรลุมรรค ผล นิพพาน นั้นก็เป็นความงามอันสุดท้ายพูดกันภาษาธรรมดาก็งาม พูดกันภาษาพิเศษก็งาม แล้วก็พูดถึงระดับสุดท้าย สูงสุด ไม่มีอะไรจะเหนือไปกว่านั้นอีก มันก็งาม ต้องเป็นอย่างนั้น อย่างอยู่อย่างชาวโลก ทํา มาหากินไม่ยากไมรจนอยู่กันสบายนี้ก็งาม แล้วก็มีคุณธรรมพอตัวนี้ก็งาม แล้วก็ดับทุกข์ สิ้นเชิงไม่มีเหลือ นี้ก็งาม ถ้าเกี่ยวกับธรรมะความงามมันมีอยู่อยาางน้ีจากปัญหาที่ว่าในโลกนี้เจริญไปในทางวัตถุ หลงไปในทางวัตถุมากขึ้น ๆ มันก็ เลยเปลี่ยนความหมายของความงาม ความงามเปลี่ยนความหมาย หรือว่ามนุษย์เปลี่ยน ความหมายของความงาม ก็ตามใจ แล้ว แต่จะพูด ความงามมันไปอยู่ท่ีวัตถุ ไปอยากที่สิ่ง ส่งเสริมกิเลส แต่ก่อนนี้ความงามแท้จริงอยู่ที่หมดกิเลส ชนะกิเลส เดี๋ยวนี้มามีความงามกันที่ สิ่งเสริมกิเลสเป็นเหยื่อของกิเลสความสวยงามทางรูปเสียงกลิ่น รสโผฏฐัพพะมางามกัน อยู่ที่นี่ นี้ก็หมายความว่า แทนที่จะใช้ศิลปะยกตนให้สูงเหนือกิเลส มันกลายเป็นใช้ศิลปะ ใน การกดตัวเอง ดึงตัวเองลงไปในทางตํ่า ทําให้โลกนี้มันจมอยู่ภายใต้เหย่ือของกิเลส ที่เรียกว่า กาม ตกอยู่ใต้อํานาจของกาม อันเป็นเหตุให้เกิดวิกฤตการณ์คือความยุ่งยากสับสนทนทุกข์ ทรมานนานาประการ แล้วยิ่งเป็นที่ลุ่มหลงกันมากขึ้น ความงามในทางเหยื่อของกิเลส สางเสริมกิเลส กําลังเป็นที่ลุ่มหลงกันมากขึ้น ๆ ในโลกน้ี ทั้งโลกก็ว่าได้ แล้วพุทธบริษัทก็พลอย ติดหางกับเขาด้วย พุทธบริษัทที่เคยมีะไรเป็นของตน ก็พลอยหมองติดพ้วงเข้าไปในความ หลงผิดเหล่านี้ด้วย นี้เรียกว่า ศิลปะปลอมกําลังชนะศิลปะแท้ ศิลปะสกปรกกําลังชนะศิลปะ สะอาด ศิลปะที่ส่งเสริมความทุกข์กําลังชนะศิลปะที่จะดับทุกข์ เป็นที่นาาเวทนาสงสาร อย่างไร ขอใหัท่านทั้งหลายลองคิดดู ศิลปะปลอมกําลังระบาด เจริญรุ่งเรืองในโลก ยกตัวอย่างให้ง่ายซ่ึงเด็ก ๆ ก็จะเข้าใจได้อย่า เดี๋ยวน้ีจะทํากับข้าวให้อร่อยกใส่ผงชูรสกันมาก ๆ แล้วก็อรอยเพราะผงชูรส แมม่ครัวเกือบจะแกงให้อร่อยโดยไม่ต้องใส่ผงชูรสไม้ได้เสียแล้วเมื่อก่อนนี้เขาไม่ต่องใสผงชูรส ก็ทําให่แกงกับนั้นอร่อยได้ เดี๋ยวนี้มันจะทําไม่ได้เสียแล้ว เพราะมันลืมไป มันสูญหายไป จนต้องใช้ศิลปะลวง คือผงชูรส แล้วหมอเขาก็กําลังบอกว่า มันอันตราย นี่เราไม่ค่อยจะดูกันให้ดี ๆ ว่า ศิลปะหลอกลวงกําลังครอบงําศิลปะบริสุทธิ์ แล้ว มนุษย์ก็จะต้องจมลงในกองทุกข์มากขึ้นไปกว่าเดิมการปฏิบัติ ก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ที่พระพุทธเจ้าท่านได้ทรงสอนไว้ ให้ว่า บรรเทากิเลสได้จริง ดับกิเลสได้จริง ดับทุกข์ได้จริง อย่าปฏิบัติให้เป็นสีลัพพัตต ปรามาส คือมีควาโง่เขลางมงาย ปฏิบัติกันอย่างงมงายไม่ขูดเกลากิเลสเลย แต่ส่งเสริม ความงมงาย
ตามข้อความที่ยกมากล่าวให้เพื่อนได้อ่านในข้างต้นนี้แสดงให้เห็นว่า ท่านพุทธทาสภิกขุ ต้องการให้ ผู้ใช้ศิลปะและผู้บริโภคศิลปะแยกแยะให้ออกว่าเป็นศิลปะแบบไหน มีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร โดยเฉพาะสังคมชาวพุทธนั้น ให้ความสําคัญกับศิลปะแบบไหน การแยกแยะและให้ ความสําคัญกับศิลปะดังกล่าว เป็นการให้คุณค่าแก่ศิลปะ ซึ่งพุทธทาสภิกขุมีความเห็นว่า ศิลปะเพ่ือจิตวิญญาณมีคุณค่ามากกว่าศิลปะเพื่อสนองอารมณ์ความรู้สึกพอใจชอบใจในสิ่ง สวยงาม...
แล้วพบกันใหม่โอกาสถัดไป....สวัสดี
ศิลป์-ศิลปะ โดย Nattinun Boonreang อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.
อยู่บนพื้นฐานของงานที่ http://5107896-art.blogspot.com/2013/08/normal-0-false-false-false-en-us-ja-th.html.
การอนุญาตนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในสัญญาอนุญาตนี้ อาจมีอยู่ที่ http://5107896-art.blogspot.com/2013/08/normal-0-false-false-false-en-us-ja-th.html
ศิลปนิพนธ์ของสตรีผู้ไม่ย่อท้อ
ศิลปนิพนธ์ของสตรีผู้ไม่ย่อท้อ
เพื่อนเราป่วยเป็นโรคสะเก็ดเงินรุนแรง จนทำให้ไม่สามารถเรามาศึกษา ณ มหาลัยในกรุงเทพที่คนรักศิลปะทุกคนใฝ่ฝันได้ แต่เขาไม่เคยย่อท้อต่ออุปสรรค์และปัญหา เขาเลือกเรียนมหาวิทยาลัยใกล้บ้าน ในคณะจิตรกรรม ที่เขาใฝ่ฝัน ความอดทน ความเจ็บป่วย ทำให้เขาได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปนิพนธ์ชุดนี้ ส่วนตัวเราได้มีโอกาสไปช่วยงานและเยี่ยมชมของจริงมาด้วย
ต่อไปนี้จะเป็นการนำเสนอเนื้อหาบางตอนในศิลปนิพนธ์ ชุด "เรื่องราวความเจ็บป่วยและกำลังใจจากแม่"
" THE STORY OF ILLNESS AND THE ENCOURAGEMENT OF MOTHER "
โดย..นางสาว ศุภลักษณ์ วงศ์พรัด ผู้สร้างสรรค์ศิลปนิพนธ์ชุดนี้
ความเป็นมาและความสำคัญของการสร้างสรรค์
ในชีวิตของคนทุกคนตั้งแต่เกิดจนโต ย่อมผ่านเรื่องราวต่างๆมากมาย ทั้งช่วงเวลาแห่งความสุขความทุกข์ ผิดหวังหรือเสียใจ สังคม ณ ปัจจุบันนี้เต็มไปด้วยวิทยาการและค่านิยมวัตถุ ทำให้คนเราใช้ชีวิตเพื่อการแข่งขันดิ้นรนต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ทุกคนต้องการและปรารถนาจนลืมมองคุณค่าของชีวิตและจิตใจ เมื่อเกิดความทุกข์จึงจะมองหาความสุข เพราะความสุขถือเป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับจิตใจของมนุษย์ และยิ่งถ้าหากชีวิตต้องพบเจอกับความเจ็บป่วยความสุขนั้นจะเกิดขึ้นถือเป็นเรื่องยาก และกำลังใจเท่านั้นคือสิ่งมีค่าที่สุด
ข้าพเจ้าก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ต้องประสบพบเจอกับความเจ็บป่วย เกิดอุปสรรคในการดำเนินชีวิต ความเจ็บป่วยอาจไม่ใช่ปัญหาของคนทั่วไป แต่สำหรับความเจ็บป่วยของข้าพเจ้าคือจุดเปลี่ยนในการดำเนินชีวิตและใช้ชีวิต รวมไปถึงอนาคตและความฝันที่ไปสามารถทำได้เพราะโรคที่เป็นอยู่สร้างความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน ทำให้ข้าพเจ้านึกถึงคำกล่าวที่ว่า “การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ” ท่ามกลางกระแสสังคมที่เร่งรีบ และเต็มไปด้วยการแข่งขันในทุกรูปแบบ ด้วยโรคที่ข้าพเจ้าเป็นอยู่ทำให้ข้าพเจ้าได้รับแรงกดดันในการใช้ชีวิต กำลังใจจากคนรอบข้าง ความสุขในจิตใจถือเป็นสิ่งสำคัญ ความรู้สึกของตนเองจากเรื่องราวของโรคที่เป็นอยู่ ข้าพเจ้ามีจุดประสงค์ให้สังคมได้รับรู้และเข้าใจความรู้สึกทุกข์ทรมานของคนที่ป่วยเป็นโรคที่ได้ชื่อว่า ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ที่ยังมีอีกมากมายในสังคม กับโรคที่มีชื่อทางการแพทย์ว่า “Psoriasis” เป็นโรคที่กำลังใจและความเข้าใจเป็นสิ่งสำคัญในการต่อสู้และเยียวยารักษา ความทุกข์ทรมานจากโรคที่เป็นถือเป็นพันธนาการภายในจิตใจของข้าพเจ้า ที่ต้องการผู้มาดูแลและปลดปล่อยพันธนาการภายใจจิตใจที่เกิดขึ้น และบุคคลผู้นั้นคือแม่ของข้าพเจ้า ผู้ซึ่งคอยดูแล ฟูมฟัก เอาใจใส่ดูแลข้าพเจ้าตลอดเวลาไม่เคยห่างหาย เมื่อข้าพเจ้ามีแม่อยู่ใกล้ๆ ข้าพเจ้ารู้สึกอบอุ่นมีกำลังใจและรู้สึกปลอดภัยเสมอ ข้าพเจ้าจึงอยากสะท้อนมุมมอง ความคิดที่มีต่อตนเองออกมาในรูปแบบของงานจิตรกรรม ที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความเจ็บป่วยและกำลังใจจากแม่เพื่อนำเสนอความจริงภายในจิตใจของข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าจึงรวบรวมความรู้สึกเหล่านี้ ถ่ายถอดมาเป็นผลงานศิลปนิพนธ์ชุดนี้ เล่าเรื่องราวโรคที่เป็นกับแม่ ของข้าพเจ้าสตรีผู้เป็นแรงใจ
..........วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์
1. เพื่อสะท้อนเรื่องราวการเจ็บป่วยของข้าพเจ้า
2. เพื่อสะท้อนแนวความคิดภายใต้จินตนาการที่มีต่อความรู้สึกและเรื่องราวความเจ็บป่วยและกำลังใจจากแม่
3. เพื่อให้สังคมได้รับทราบถึงความรู้สึกของผู้ที่ป่วยเป็นโรค “Psoriasis”
4. นำเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตมาสร้างสรรค์เป็นผลงานจิตรกรรม
5. เพื่อถ่ายทอดความอบอุ่นความรักความห่วงใยและกำลังใจที่ได้รับจากแม่ของข้าพเจ้า
6. เพื่อสร้างความแปลกใหม่ในผลงานศิลปะโดยการเล่าเรื่องราวจากโรคและความเจ็บป่วย
7. เพื่อพัฒนาการทำงานและการสร้างสรรค์ผลงานของตนเอง
8. เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้สนใจ และต้องการศึกษางานศิลปนิพนธ์นี้
..........แหล่งข้อมูล
แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่เกิดจากอารมณ์ความรู้สึกภายในจิตใจของข้าพเจ้า ข้าพเจ้านำเอาความรู้สึกในจินตนาการมาถ่ายทอดและนำเสนอในรูปแบบที่สร้างสัญลักษณ์ขึ้นมาเฉพาะตัวภายใต้การสร้างบรรยากาศตามจินตนาการของข้าพเจ้า
..........ที่มาและแนวความคิดสร้างสรรค์
ผลงานชุดนี้เกิดขึ้นจากการพินิจพิจารณาความรู้สึกของตัวข้าพเจ้าเอง เกิดจากความรู้สึกที่มีต่อความเจ็บป่วยของข้าพเจ้า ซึ่งป่วยเป็นโรค“Psoriasis” เป็นโรคที่พบได้น้อยจากจำนวนประชากรทั่วไป เพราะเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเลือดและการทำงานที่ผิดปกติของการถ่ายทอดทางพันธุกรรม และอีกสาเหตุสำคัญของผู้ป่วยโรคนี้คือความวิตกกังวลและความเครียดส่งผลให้การทำงานของระบบโลหิตและผิวหนังผิดปกติ มีลักษณะลอกล่อน บวมแดง และอักเสบรุนแรงตามผิวหนัง ลักษณะอาการของโรคที่เป็นบนร่างกายทำให้ข้าพเจ้าเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสัญลักษณ์ที่เกิดขึ้นในผลงานจิตรกรรม เพื่อเป็นจุดเด่นและเอกลักษณ์ในผลงาน
ข้าพเจ้านำเอาลักษณะผู้ป่วยมาสร้างสัญลักษณ์ใหม่เป็นตัวแทนของข้าพเจ้าและแม่ในรูปแบบของข้าพเจ้าเองโดยยึดรูปแบบจินตนาการในทัศนะของข้าพเจ้าข้าพเจ้าตัดตอนเอาสรีระของผู้หญิงมาสร้างเป็นรูปแบบเฉพาะ เพื่อเป็นตัวแทนข้าพเจ้าและแม่ สรุปด้วยรูปทรงและสีที่ข้าพเจ้าสร้างสรรค์ขึ้นมา ตามความรู้สึกคุ้นเคยในจินตนาการเวลานึกถึงแม่ และตัวข้าพเจ้าโดยไม่ยึดหลักความถูกต้องตามหลักสรีระวิทยา
โรคที่ข้าพเจ้าเป็นส่งผลให้ข้าพเจ้าเกิดสภาวะทางอารมณ์ที่เรียกว่าความเครียด ความเครียดก่อให้เกิดความรู้สึกในจิตใจของข้าพเจ้าว่าโรคที่เป็นอยู่นั้นเปรียบเสมือนข้าพเจ้าถูกพันธนาการให้ขาดอิสระในการดำเนินชีวิตเสมือนถูกกังขังอยู่ในกรงเหมือนนกที่ขาดอิสรภาพ ภายใต้ท้องฟ้ากว้างใหญ่ ที่ข้าพเจ้านั้นมองเห็นอยู่แต่ไม่สามารถออกไปตามหาความสุข ความฝันและอิสระในการใช้ชีวิต แต่ข้าพเจ้ามีแม่ผู้ซึ่งคอยดูแลเอาใจใส่ให้กำลังใจคอยอยู่เคียงข้างคอยเติมเต็มความรักอยู่เสมอ เสมือนดอกทานตะวันเปรียบเสมือนกำลังใจให้ต่อสู้กับทุกๆวันและคอคอยแสงตะวันที่สดใส กาน้ำเป็นภาชนะที่ข้าพเจ้าเป็นในทุกๆวันเป็นสิ่งที่แม่ใช้ต้มยาสมุนไพรเพื่อใช้รักษาอาการเจ็บป่วยของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเลยนำเอาสิ่งคุ้นเคยทั้งในความเป็นจริงและในจินตนาการ มาสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมชุดนี้
ข้าพเจ้าสร้างสรรค์ผลงานเป็นแนวสัญลักษณ์ (Symbolic) ชุดนี้อิงแนวความคิดตามลัทธิศิลปะและทัศนศิลป์ลัทธิเซอร์เรียลลิสม์ (Surrealism Visual Art) เป็นการแสดงออกอย่างเสรีของจิตไร้สำนึกอย่างแท้จริง ปราศจากสติควบคุมศิลปินกลุ่มนี้พยายามสร้างทัศนศิลป์จากความฝันและความรู้สึกภายในที่แสดงออกภายใต้อิทธิพลของจิตไร้สำนึก มนุษย์ทุกคนมีความรู้สึก มีความคิดความฝันต่าง ๆ ซึ่งเก็บซ่อนอยู่ภายใต้จิตโดยมนุษย์ไม่รู้สึกตัว ถ้าแสดงออกมามนุษย์ก็จะรับรู้ได้ทันทีถึงความฝันนั้น ๆ ว่าจะเป็นจริงหรือไม่เป็นจริง
..........แนวความคิดในการสร้างสรรค์
ข้าพเจ้าต้องการนำเสนอเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับตนเอง โดยการสร้างสัญลักษณ์เฉพาะตน (Symbolic) นำมาผสมผสานขึ้นโดยการเล่าเรื่องราวด้วยวัตถุที่พบเห็นในทุกๆวันสื่อความหมายภายใต้บรรยากาศที่สร้างสรรค์จากจินตนาการด้วยความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากความเจ็บป่วยความทุกข์ทรมานพร้อมทั้งเล่าถึงเรื่องราวของการได้รับการปกป้องดูแลให้ความรักเอาใจใส่จากแม่ผู้เปรียบเสมือนผู้ปลดปล่อยจากพันธนาการความทุกข์ที่เป็นอยู่ของข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าป่วยเป็นโรค โรค “Psoriasis” ตั้งแต่อายุ 13 ปี จน ณ ปัจจุบัน ข้าพเจ้าอายุ 23 ปี ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาข้าพเจ้าทนทุกข์ทรมานกับโรคที่แสดงอาการอักเสบรุนแรงทางผิวหนัง ด้วยความที่เป็นเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น ก็มีความวิตกกังวลมากขึ้น ความอับอายเมื่อมีคนอื่นพบเห็นลักษณะผิวหนังที่ไม่ปกติทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกน้อยใจในโชคชะตาของตนเองมาโดยตลอด ข้าพเจ้าเกิดในครอบครัวที่พ่อและแม่รับราชการทั้งคู่ แน่นอนว่า ท่านเลี้ยงดูข้าพเจ้ามาอย่างดีที่สุดในทุกๆอย่าง และคาดหวังที่จะเห็นข้าพเจ้าประสบความสำเร็จในชีวิต และมีอนาคตที่ดีตามความฝันที่ข้าพเจ้าอยากจะทำ อยากจะเป็น แต่ด้วยโรคที่ข้าพเจ้าเป็น เป็นกรอบ ที่คอยควบคุมการใช้ชีวิต ไม่สามารถทำในสิ่งที่ใฝ่ฝันได้เพราะความเจ็บป่วยของร่างกาย ครอบครัวของข้าพเจ้าพาข้าพเจ้าไปรักษา ในโรงพยาบาลที่ดีที่สุด มีชื่อเสียงที่สุดแต่ก็ไม่เป็นผล เพราะโรคที่ข้าพเจ้าเป็น หากเกิดความเครียด ก็จะทำให้โรคกลับมาเป็นอีก ข้าพเจ้าจึงต้องควบคุมให้ตนเองอยู่ในสภาวะที่มีแต่ความสุขจลอดเวลา แต่มันมันเรื่องยากในโลกแห่งความเป็นจริงในโลกปัจจุบัน ที่มีทั้งการเรียน การงาน การแข่งขัน กันในทุกรูปแบบ เพื่อได้มาซึ่งอนาคต และสิ่งที่ทุกคนใฝ่ฝันในชีวิต
ข้าพเจ้าไม่สามารถทำอะไรได้ตามความต้องการของตนเองซึ่งมีอยู่มากมาย ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกทุกข์ เหมือนถูกพันธนาการไว้ด้วยการขังขัง ไม่ให้เป็นอิสระ ความคาดหวังที่จะศึกษาเรียนต่อในสถาบันที่ใฝ่ฝัน ก็ไม่สามารถทำได้เนื่องจากต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด ข้าพเจ้าจึงรู้สึกหมดอิสรภาพ และหมดหวังหมดกำลังใจในทุกๆสิ่ง
แต่โชคดีในโชคร้าย ข้าพเจ้ามีครอบครัวที่น่ารักและอบอุ่น คอยดูแลข้าพเจ้าในทุกๆอย่างเอาใจใส่ ห่วงใย ให้ความรักไม่ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกโดดเดี่ยว และแม่ก็เป็นบุคคลหนึ่งในชีวิตที่ข้าพเจ้าอยากนำเอาเรื่องราวของท่านที่คอยดูแลให้ความรักเอาใจใส่ปกป้องข้าพเจ้า เปรียบเสมือนผู้ปลดปล่อยพันธนาการภายในจิตใจที่เกิดขึ้น ภาพแม่รินยาสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคของข้าพเจ้า กลายภาพที่เห็นจนคุ้นเคย แม่จะเดินเอายามาให้ข้าพเจ้า พร้อมๆกำคำพูด การโอบกอด ให้กำลังใจข้าพเจ้าให้ความรู้สึกเหมือนมีดอกทานตะวันเบ่งบานภายในใจ เกิดกำลังใจขึ้นในทุกๆวันของชีวิต ในผลงานศิลปนิพนธ์ ทั้ง 4 ชิ้น ของข้าพเจ้าเล่าเรื่องราวดังนี้
ชิ้นที่ 1 เล่าเรื่องราวความทุกข์เปรียบเสมือนอยู่ในกรงกักขัง และมีแม่คอยให้กำลังใจ ให้ยารักษา เพื่อเยียวยารักษาสภาพกายและใจของข้าพเจ้า และดูแลข้าพเจ้าในทุกๆวันอย่างใกล้ชิด
ชิ้นที่ 2 แม่ได้ปลดปล่อยพันธนาการของข้าพเจ้าให้ออกจากความรู้สึกเหมือนอยู่ในกรงนกเดินมาหาข้าพเจ้าพร้อมดอกทานตะวันช่อโต และยารักษาเช่นเดิม ภายใต้บรรยากาศท้องฟ้าที่สดใสเปรียบดังแสงที่งดงามในชีวิตที่แม่มอบให้
ชิ้นที่ 3 ข้าพเจ้าอาการดีขึ้นมีแรงลุกขึ้นเดินเองได้แล้ว แต่ก็ยังคงมีอาการที่ยังต้องเฝ้าระวังอยู่ ในภาพ หม้อยาสมุนไพรถูกผูกพันธนาการแทนกรงนก แสดงให้เห็นว่า ถ้าข้าพเจ้าทนต่อความทุกข์ทรมานในการทานยาได้ ทุกอย่างก็จะดีขึ้น โดยมีแม่คอยกางร่มให้มาพร้อมกับดอกทานตะวันช่อโตเช่นเคย เปรียบดังการที่แม่คอยปกป้องและให้กำลังใจข้าพเจ้าอยู่เสมอ
ชิ้นที่ 4 พันธนาการความทุกข์ทั้งหมดผูกปลดปล่อยอย่างหมดสิ้น ข้าพเจ้ากลับมามีชีวิตชีวาและใช้ชีวิตปกติได้เองแสดงให้เห็นถึงการกลับมาทำในสิ่งที่ต้องการเองได้ และยังมีแม่ที่คอยดูแลและให้กำลังข้าพเจ้า และอยู่เคียงข้างเป็นห่วงข้าพเจ้าเสมอ
บทสรุป
แนวการสร้างสรรค์ผลงานชุดนี้ของข้าพเจ้าเกิดจากความเจ็บป่วยด้วยโรค “Psoriasis” เป็นโรคที่ข้าพเจ้าประสบด้วยตนเองความรู้สึกที่มีต่อโรคที่ขึ้นชื่อว่าไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ความทุกข์ทรมานจากโรคส่งผลให้ข้าพเจ้าเกิดความเครียดทดท้อหมดกำลังใจในการดำเนินชีวิต แต่ข้าพเจ้าก็ยังมีสตรีผู้หนึ่งที่คอยดูแล เอาในใส่ให้ความรักแก่ข้าพเจ้านั่นก็คือแม่ของข้าพเจ้าเอง ข้าพเจ้าจึงนำเรื่องราวเหล่านี้มาคิดสร้างสรรค์ให้เกิดรูปแบบผลงานศิลปะเฉพาะตัวโดยใช้การแทนค่าด้วยสัญลักษณ์ที่ข้าพเจ้าสร้างขึ้น จากความรู้สึกในจินตนาการส่วนตัว ซึ่งข้าพเจ้าได้รับอิทธิพลในการทำงานที่เล่าเรื่องราวของตนเอง มาจากศิลปิน นั่นก็คือ ฟริดา คาห์โล (Frida Kahlo) ซึ่งท่านเป็นศิลปินท่านหนึ่งที่สร้างผลงานอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์โดยใช้ตัวเองเล่าเรื่องราวถึงความทุกข์ทรมานในชีวิต บรรยากาศในจิตนาการ สร้างสัญลักษณ์แทนตนเอง นำเอาวัตถุที่คุ้นเคยและต้องการสื่อถึงความหมาย มาเล่าเรื่องได้อย่างสะเทือนอารมณ์
ผลงานที่ข้าพเจ้าสร้างสรรค์ขึ้นต้องการแสดงให้เห็นถึงอารมณ์ความรู้สึก เรื่องราว ที่ข้าพเจ้าต้องการจะเล่าให้สังคมได้รับรู้ถึงมุมมองคนคนที่ป่วยเป็นโรคเดียวกับข้าพเจ้า ว่าความรู้สึกที่มีต่อโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด ทำให้เกิดความทุกข์และต้องการกำลังใจ ซึ่งผลงานแต่ละชิ้นมีความแตกต่างกัน และน่าสนใจไม่เหมือนกัน จากการพัฒนาภาพร่างทั้ง 4 ชุด แล้วจึงนำภาพร่างที่ลงตัวที่สุดมาขยายเป็นผลงานจริง ลงบนเฟรมผ้าใบ โดยใช้เทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ
*********ขอขอบคุณ นางสาวศุภลักษณ์ วงศ์พรัด ผู้เอื้อเฟื้อข้อมูล และ ภาพประกอบทุกภาพในบล็อกนี้
ศิลป์-ศิลปะ โดย Nattinun Boonreang อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.
อยู่บนพื้นฐานของงานที่ http://5107896-art.blogspot.com/2013/08/normal-0-false-false-false-en-us-ja-th.html.
การอนุญาตนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในสัญญาอนุญาตนี้ อาจมีอยู่ที่ http://5107896-art.blogspot.com/2013/08/normal-0-false-false-false-en-us-ja-th.html
ศิลปะบำบัด
ศิลปะบำบัด
สวัสดีเพื่อนๆทุกคนมาพบกันอีกครั้ง คราวนี้จะมาบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับศิลปะ อีกแขนงหนึ่ง ที่เรากำลังสนใจมากๆในขณะนี้ ก่อนอื่นบอกก่อนเลยว่าที่บ้านของเรานั้นเปิดสถานรับเลี้ยงเด็ก หรือที่เรียกกันว่า (เนอร์สเซอรี่) Nursery มีเด็กจำนวนนึงมีความผิดปกติเรื่องพัฒนาการ หรือที่เรียกว่าสมาธิสั้น นี่คือที่มาที่ทำให้เราได้รู้จักกับศิลปะแขนงนี้
ตอนนี้เรากำลังทำการศึกษาเรื่อง "ศิลปะบำบัด" เพราะเราเริ่มเห็นพัฒนากาคที่ดีขึ้นของน้องใบบัวอายุ 4 ปี หนึ่งในกลุ่มเด็กสมาธิสั้น ศิลปะบำบัดช่วยให้น้องๆเด็กๆที่เนอร์สเซอรี่ ให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น ก่อนหน้านี้น้องใบบัว ไม่สามารถร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆได้ ร้องให้งอแง ตลอดเวลา
จริงๆแล้วที่เนอร์สรี่ของเรานั้นไม่มีพี่เลี้ยงหรือเจ้าหน้าที่จบด้านนักศิลปะบำบัดมานะ แต่เพื่อนเราที่จบด้านศิลปะมาเป็นคนแนะนำให้เอาศิลปะมาบำบัดน้องกลุ่มนี้ดู และ เพื่อนเราก็อาสามาเป็น ครูสอน ศิลปะบำบัด ให้ที่เนอร์สเซอรี่ เป็นการทดลองสอนดู เพราะเพื่อนเรามันจะไปเรียนต่อ ด้าน ศิลปะบำบัด โดยตรง
น้องใบบัวกับเพื่อนของเราที่เป็นครูอาสาช่วยบำบัด
ผลงานน้องใบบัว อายุ 4 ปี
ทำกิจกรรมเสริมสร้างจินตนาการกับน้องๆ
กิจกรรมเสริมสร้างจินตนาการและพัฒนากล้ามเนื้อในน้องๆ 2-3 ปี
พูดเรื่องน้องๆในความดูแลที่เนอร์สเซอรี่เรามาก็เยอะแล้วมาทำความรู้จักศิลปะบำบัดจากนักวิชาการกันบ้างดีกว่า......
ก่อนอื่นเราอยากจะพูดถึงข้อมูลความเป็นมาของ ศาสตร์ ว่าด้วยเรื่อง "ศิลปะบำบัด" โดยเราขออนุญาตอ้างอิง บทความจาก อาจารย์ อนุพันธ์ุ พฤกษ์พันธ์ขจี ท่านเป็นทั้งจิตรกร และ นักศิลปะบำบัด ที่มีชื่อเสียง และ ยังเป็นศิลปินที่เราชื่นชอบอีกด้วย.....
//
//
//....เริ่มกันเลย....
ศิลปะบำบัด : ความเข้าใจที่ถ่องแท้ สู่การเยียวยาที่แท้จริง
โดย อาจารย์อนุพันธุ์ พฤกษ์พันธ์ขจี
จิตรกรและนักศิลปะบำบัด โรงพยาบาลสมิติเวชศรีนครินทร์
“ศิลปะบำบัด” ถูกหยิบยกเป็นหัวข้อทางวิชาการในวงการแพทย์ การศึกษา ตลอดจนการบำบัดเยียวยา ต่อเนื่องกันตลอดสามสี่ปีที่ผ่านมา งานวิชาการศิลปะบำบัด โดยเฉพาะกระแสหลัก (Mainstream) ที่กล่าวขานกันอยู่ในทุกวันนี้ ก็เป็นเพียงแค่การอธิบายศิลปะบำบัดบนพื้นฐานของจิตวิทยา และบางครั้งก็ถูกเชื่อมโยงจากมุมมอง
วิทยาศาสตร์ จิตวิเคราะห์ หรือแม้แต่การแพทย์เองก็ตาม
หากทว่า บทความนี้จะขอนำเสนอศิลปะบำบัดบนพื้นฐานศาสตร์แห่งจิตวิญญาณ (Anthroposophy : Spiritual Science) ที่อธิบายศิลปะบำบัดบนความรู้ที่เป็นองค์รวมของ ศิลปะ การแพทย์ การบำบัด การศึกษา ความเข้าใจ
การหยั่งรู้ในความเป็นมาของมนุษย์ รวมถึง จิตวิญญาณ ที่หลอมรวมศาสตร์เป็นหนึ่งเดียว
ลองย้อนกลับไปมองเมื่อหนึ่งร้อยปีที่แล้ว (พ.ศ. 2450 – 2467 : ค.ศ. 1907 – 1924) ยุคนั้นเป็นยุคทองของศาสตร์ทางจิตวิทยา และนักคิดทางจิตวิทยาหลายคนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วยุโรป แต่ขณะเดียวกันยังมีอีกบุคคลหนึ่งที่มีความคิดก้าวล้ำและไม่ได้มองจิตมนุษย์ในเชิงวิทยาศาสตร์ แนวความคิดในเชิงอภิปรัชญา (Anthroposophy) ของเขาค่อยปรากฏขึ้นในยุโรป และแผ่กว้างไปในอเมริกา เอเชีย ความเข้าใจมนุษย์ทั้งจากร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ ส่งผลให้ชื่อเสียงของนักปรัชญา-นักฟิสิกส์ นามอุโฆษ ดร. รูดอล์ฟ สไตเนอร์ (Dr. Rudolf Steiner : ค.ศ. 1861 – 1925)เป็นที่ปรากฏขึ้นในโลก อาจมีคำถามว่า แล้วศิลปะบำบัดเกี่ยวข้องอย่างไรกับปรัชญาที่ว่านี้เล่า อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า สไตเนอร์เป็นนักคิด-นักปรัชญา ที่ไม่ได้แยกศาสตร์ต่าง ๆ ออกเป็นส่วนๆ สไตเนอร์กล่าวถึงความสัมพันธ์ของศิลปะกับจิตวิญญาณของมนุษย์ พูดถึงสีที่มีผลต่อสภาพจิตใจ (See and Sense) โดยเฉพาะเรื่องสีนั้น สไตเนอร์ค้นคว้าทางวิชาการและเป็นผู้เรียบเรียงผลงานทฤษฎีสีของเกอเธ่ (Goethe, Colour Theory) อีกทั้ง สไตเนอร์ยังได้เชื่อมโยงองค์ความรู้ ทั้งการ แพทย์องค์รวม การพัฒนาการของเด็ก การศึกษาที่มีชีวิต การบำบัด ฯลฯ ให้เป็นหนึ่งเดียว
ดังนี้แล้ว ศิลปะบำบัดในมุมมองของมนุษยปรัชญา จึงอรรถาธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ด้วยตัวของมัน ทั้งยังก้าวล้ำไปอย่างลึกซึ้งในเรื่องสีบำบัด (Colour Therapy) ซึ่งบรรดาลูกศิษย์และเพื่อนร่วมงานของสไตเนอร์ที่มีส่วนช่วยให้ศิลปะบำบัดชัดเจนขึ้น ก็คือ แพทย์หญิงที่มีชื่อว่า อีธา เวกมันน์ (Dr. med. Ita Wegmann) คลินิกของเธอรวมทั้งห้องบำบัดอยู่ในเมือง Arlesheim ใกล้กรุงบาเซิล (Basel) สวิตเซอร์แลนด์ ราว ค.ศ. 1921 นี่คือจุดเริ่มต้นของศิลปะบำบัด
ในยุโรปเช่นกัน
...ศิลปะกับมนุษย์
แนวความคิดมนุษยปรัชญา เชื่อว่า ศิลปะมีสัมพันธ์แนบแน่นกับดวงจิตมนุษย์มาอย่างช้านาน ในสมัยโบราณศิลปะหลอมรวมกับศาสนาอย่างแน่นแฟ้น ศิลปะเป็นดั่งสายรุ้งเชื่อมโยงมนุษย์กับโลกเบื้องบน (โลกแห่งจิตวิญญาณ) ถ้าเราได้มีโอกาสศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะ ก็จะพบว่า ศิลปินยุคสมัยหนึ่ง (ก่อนยุคเรอนาซอง – Renaissance) ทำงานอุทิศแด่ศาสนา รังสรรค์ผลงานศิลปะ ทั้งจิตรกรรม และ ประติมากรรม ในโบสถ์ วิหาร และศาสนสถานมากมายในประเทศรัสเซียมีงานศิลปะรูปพระแม่มารี และพระเยซู โดยศิลปินเหล่านั้นไม่เคยจารึกนามบนชิ้นงานศิลปะเหล่านั้นเลย ปรากฏการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในยุโรป แต่ยังรวมถึงฟากฝั่งโลกตะวันออกของเราอีกด้วย เฉกเช่นผลงานพุทธศิลป์ในอดีตมากมายในประเทศของเรารวมถึงชมพูทวีป ก็ไม่ปรากฏว่ามีการจารึกนามของเจ้าของผลงานด้วยเช่นกัน ที่สำคัญกว่านั้น เด็กทุกคนซึ่งได้เกิดขึ้นในโลกนี้ การวาดภาพกลายเป็นธรรมชาติภายในที่ทำให้พวกเราตระหนักถึงข้อความข้างต้นเป็นอย่างดี ว่ากันที่จริงแล้ว ก็ละม้ายคล้ายกับจิตใจอันบริสุทธิ์ในการวาดภาพของเด็ก ซึ่งมีนัยยะความสัมพันธ์
ระหว่างดวงจิตของมนุษย์กับศิลปะ นั่นเอง
...จากศิลปะ สู่ ศิลปะบำบัด
ดังที่กล่าวมา มนุษยปรัชญา (Anthroposophy) มีรากฐานของความเข้าใจมนุษย์ทั้งสามส่วนหลัก คือ ความคิด (Thinking) ความรู้สึก (Feeling) และ เจตจำนง (Willing) องค์ประกอบทั้งสามนี้จะปฏิสัมพันธ์อย่างสมดุลย์ตามช่วงเวลาการเติบโต และหากบุคคลหนึ่งบุคคลใดเกิดภาวะเจ็บป่วย ทั้งโรคทางกายหรือโรคทางใจ ไม่ว่าจะเพศหรือวัยใด สามสิ่งข้างต้นก็จะสูญเสียความสมดุลย์ ซึ่งจะส่งผลต่อ ทางกาย (กระบวนการเผาผลาญร่างกาย) ทางใจ
(ระบบหมุนเวียนของโลหิตและการทำงานของหัวใจ) ทางความคิด (ระบบประสาท และการทำงานของสมอง)
การบำบัด (Therapy) โดยใช้คิลปะ จึงเป็นการกระทำจากภายนอกร่างกายเข้าไปหลอมรวมสู่ภายใน เพื่อสร้างสมดุลย์ หรือขจัดภาวะติดขัด การถูกกดภายใน ให้หลุดหรือคลายออก โดยผู้รับการบำบัดจะปฏิบัติโดยรับประสบการณ์
จากภายนอกเข้าไปไว้ในตัว แล้วเกิดการสร้างสรรค์จากภายใน เพื่อถ่ายทอดอีกครั้ง
ที่ได้กล่าวมา จะเห็นได้ว่า พื้นฐานความคิดนี้ แตกต่างจากความเข้าใจศิลปะบำบัดในกระแสหลักทั่ว ๆ ไปเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุว่า ศิลปะบำบัดแนวทางมนุษยปรัชญาให้ความสำคัญทั้งการรับความรู้สึก (Impress) และ แสดง
ความรู้สึก (Express) เหมือนกับจังหวะของลมหายใจเข้าและลมหายใจออก
...ศิลปะบำบัดบนพื้นฐานมนุษยปรัชญา
แน่นอนละว่า ศิลปะบำบัดแนวมนุษยปรัชญาย่อมนำศิลปะทั้งเจ็ดแขนงมาแยกย่อยเป็นศาสตร์บำบัดต่าง ๆ อันได้แก่ สถาปัตยกรรม การปั้นบำบัด (Clay Therapy) การวาดบำบัด (Painting Therapy) ดนตรีบำบัด (Music Therapy) อรรถบำบัด (Speech Therapy) ยูริธมีบำบัด (การเคลื่อนไหว – Eurythmy Therapy) และละครบำบัด (Drama Therapy) โดยมีศาสตร์รองรับในแต่ละแขนงว่ามีเหตุผลต่อการบำบัดในสภาวะต่างๆ ของผู้เสียสมดุลย์ ทั้งร่างกาย จิต และจิตวิญญาณ คำกล่าวหนึ่งที่น่าสนใจ กล่าวไว้ว่า ศิลปะ ก็เป็นดั่งยารักษาจิตใจ ดังนั้น นักศิลปะบำบัด ก็ควรตระหนักและไตร่ตรองต่อการให้ยาขนานนี้ ใช่ว่าเด็กทุกคนจะต้องวาดภาพ และใช่ว่าเด็กทุกคนต้องรับการปั้น Element ทางศิลปะ (เส้น สี รูปทรง พื้นที่ว่าง ฯลฯ) มีผลต่อการบำบัดทุกห้วงอณู ตัวอย่างเช่น ถ้านักบำบัดไม่รู้ว่าผู้เข้ารับการบำบัดรายนี้ไม่ควรระบายสีแดง (Crimson) อันเนื่องจากอิทธิพลของสีนี้ส่งผลและทำให้โรคภายในตัวของเขาเร่งเร้าขึ้น มีอาการสำแดงชัดขึ้น ยาขนานนี้ก็จะเป็นดาบอีกคมโดยไม่รู้ตัวกระบวนการที่แตกต่างของศิลปะบำบัด และ การศึกษาบำบัดในแนวทางมนุษยปรัชญาโดยปกติ ในกระบวนการบำบัด นักศิลปะบำบัด (Art Therapist) ทั้งเจ็ดแขนงจำต้องศึกษาประวัติผู้เข้ารับการบำบัดอย่างละเอียดจากแพทย์ ครอบครัว ครู (ในกรณีที่ผู้รับการบำบัดเป็นเด็ก) และขั้นตอนที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ให้เวลากับตนเองประมาณสามสัปดาห์ในการเฝ้าดูความเป็นไปของผู้รับการบำบัด เพื่อผลการวินิจฉัยการทำงานบำบัดของตนเอง ว่าจะ ‘เลือก’ สิ่งใดไป ‘บำบัด’ และ ‘เปลี่ยนแปลง’ ภายในของผู้รับการบำบัด โดยมีเหตุผลที่ชัดเจนต่อความเจ็บป่วยนั้น นั่นหมายถึงการบำบัดต้องมีเป้าหมายที่แจ่มชัดต่อทุกขั้นตอนในกระบวนการนั้น ตั้งแต่การเลือกสรร ใช้วัสดุอุปกรณ์ บทเรียนในการบำบัด นั่นจึงเรียกว่าการบำบัดที่สมบูรณ์ และนี่คือการงานของนักศิลปะบำบัดที่แท้จริงกล่าวในส่วนของประเทศไทย แม้จะมีการหยิบยกศิลปะบำบัดมาพูดถึงกันอยู่บ่อยครั้ง แต่ถ้าสังเกตและพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เราก็จะพบความทับซ้อนกับการศึกษาบำบัด (Curative Education) เป็นอย่างมาก การจัดการศึกษาบำบัดเกิดขึ้นมานานกว่าหกสิบปี โดยจัดการแก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อให้พวกเขาได้รับการพัฒนาที่สูงขึ้น Blitz (1999) นักปรัชญาการศึกษาคนสำคัญกล่าวว่า แนวคิดการศึกษาบำบัด และ การศึกษาพิเศษ (Special need in Education) มีทั้งส่วนที่คล้าย และส่วนที่ต่างกัน กล่าวคือ ทั้งสองแนวคิดเป็นการทำงานเพื่อส่งเสริมพัฒนาการแก่เด็ก ที่มีความต้องการพิเศษ และมองที่ตัวเด็กเป็นสำคัญ แต่การศึกษาบำบัดนั้นมองเด็กต่างไปจากการศึกษาพิเศษ โดยเป็นการมองเด็กแบบองค์รวม (Holistic View) เน้นความสำคัญทั้ง ร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณดังนั้นเอง การจัดการศึกษาบำบัดนั้น จึงมุ่งเน้นจัดกิจกรรมที่ลึกซึ้ง บนสุนทรียภาพ เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมและบริบทของสังคมนั้นๆ เน้นวัสดุจากธรรมชาติ เพื่อให้เป็นมิติของการบำบัดจริงๆ กิจกรรมมีลักษณะเป็นกลุ่ม และค่อนข้างหลากหลาย อาทิเช่น การวาดภาพ การร้อยเมล็ดพืช การระบายสีบนดินเผา รวมทั้งงานประดิษฐ์อื่น ๆ ไม่ได้เน้นความเป็นปัจเจกบุคคล หรือเฉพาะเจาะจงในกระบวนการวาด หรือกระบวนการปั้น สิ่งที่ได้กล่าวมามีรูปแบบอยู่ในประเทศตะวันตกอย่างชัดเจนว่า คือการศึกษาบำบัด นั่นเอง
...ศิลปะบำบัดในสังคมไทย
ปัจจุบัน สังคมไทยให้ความสำคัญกับศิลปะบำบัดมากขึ้น ซึ่งก็นับเป็นสัญญาณที่ดี ในปีหนึ่ง ๆ มีผู้เข้ารับการบำบัดตั้งแต่เด็กไปจนกระทั่งผู้ใหญ่เป็นจำนวนมาก แม้ความรู้ทางวิชาการจะยังอยู่ในวงจำกัด นักศิลปะบำบัด (Art Therapist) ที่ได้ร่ำเรียนและฝึกฝนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติมาอย่างจริงจัง ก็ยังนับว่าน้อยมาก ซึ่งความรู้ที่ลึกซึ้งและเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ ยังจำเป็นมากต่อการบำบัด ดังนั้น ช่วงเวลานับจากนี้จะเป็นช่วงเวลาที่น่าสนใจไม่น้อยว่า ศิลปะบำบัดในประเทศไทยจะสามารถยกระดับองค์ความรู้และศักยภาพของเรา ให้เพียงพอที่จะรับมือกับความผันผวน
และการเปลี่ยนแปลงอันซับซ้อนของโลกทุกวันนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่
*********อ้างอิง
1. Eva Mees. Christeller, Inge Denzinger, Marianne Altmaiel, Heidi Künster. Anthroposophische Kunsttherapie 2. 2003 : 47 – 83.
2. Rudolf Steiner. 1973. Das Wesen der Farber. Germany : Rudolf Steiner verlag.
3. Rudolf Steiner. 1961. Das Kunstlerische in seiner Weltmission. Germany : Rudolf Steiner verlag.
4. Van James. 2001. Spirit and Art. America : Anthroposophic Press.
5. Olaf Koob. 18 มีนาคม 2551. ศิลปะบำบัดในมุมมองของแพทย์ ในงานปาฐกถา คุณรู้จักศิลปะบำบัดแค่ไหน มูลนิธิอนุบาลบ้านรัก.
6. ศศิลักษณ์ ขยันกิจ. 2548. การพัฒนากระบวนการให้การศึกษาสำหรับผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ โดยใช้แนวคิดการศึกษาบำบัดและเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง. วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. ภาควิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศิลป์-ศิลปะ โดย Nattinun Boonreang อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.
อยู่บนพื้นฐานของงานที่ http://5107896-art.blogspot.com/2013/08/normal-0-false-false-false-en-us-ja-th.html.
การอนุญาตนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในสัญญาอนุญาตนี้ อาจมีอยู่ที่ http://5107896-art.blogspot.com/2013/08/normal-0-false-false-false-en-us-ja-th.html
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)