วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

ศิลปะในทัศนะของท่านพุทธทาสภิกขุ

          

ศิลปะในทัศนะของท่านพุทธทาสภิกขุ


                สวัสดีเพื่อนๆทุกคนวันนี้ มีเรื่องราวดีๆมานำเสนออีกแล้ว คราวนี้เปลี่ยนบรรยากาศ เดินทางไกลไป600กิโลเมตร ณ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี บ้านเกิดของเราเอง ที่นี้คือ สวนโมกข์พลาราม หรืิอ วัดธารน้ำไหล สถานที่ๆคุ้นเคยของชาวสุราษฎร์ ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก เพราะ สถานที่แห่งนี้คือถิ่นกำเนิดของ ท่านพุทธาทาสภิกขุ กวีเอกของโลก เราภาคภูมิใจมากที่ได้เกิดในจังหวัดนี้....

           เรามีโอกาสได้ตามพี่ชายของเราไปช่วยถ่ายรายการ พี่เราเป็นช่างภาพอยู่สถานีโทรทัศน์ NBT หนะพี่เราไปถ่ายงาน"สุขภาพใจ" เราเลยไม่พลาดที่จะเก็บเกี่ยวเรื่องราวดีๆด้านศิลปะมาฝากเพื่อนๆ






การทำให้ศิลปะและสื่อแห่งศรัทธามีบทบาทจำเพาะต่อการศึกษาอบรมทางจิตใจ โดยทั่วไปนั้น งานศิลปะทางศาสนาที่มีมาในอดีต มักทำหน้าที่เป็นบันทึกจรดจารเชิงประวัติศาสตร์ รวมทั้งทำเป็นสิ่งตบแต่งศาสนสถานให้สวยงามให้สัปปายะต่อความเจริญงอกงามทางจิตใจ 
ทว่าการทำขึ้นเพื่อให้เป็นสื่อและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้และเป็นวิธีการให้การศึกษาอบรมโดยตรงอย่างโรงมโหรสพทางจิตวิญญาณที่สวนโมกข์นี้ เป็นวิธีการที่พบเห็นได้น้อยมาก






           
                 โรงมหรสพทางจิตวิญญาณ สวนโมกข์ เพื่อความรื่นรมย์เบิกบานของชีวิต
    




 การสร้างพื้นที่ขึ้นใหม่ที่บูรณาการทางศิลปะ ศาสนา และการศึกษาอบรม ศาสนสถานโดยทั่วไป ก็มักเป็นโครงสร้างพื้นฐานเพื่อทำกิจกรรมทางศาสนาและเพื่อการอยู่อาศัยของชุมชนทางศาสนาที่เอื้อต่อการศึกษาอบรมในแนวทางที่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติในพระธรรมวินัย การอบรมสั่งสอนก็มีแหล่งเฉพาะ เช่น บนศาลา บนธรรมมาส และในพื้นที่ที่สร้างขึ้นจำเพาะเมื่อมีกิจกรรมทางศาสนา ทว่า กรณีโรงมโหรสพทางจิตวิญญาณ จัดว่าเป็นการทำขึ้นอย่างเป็นศาสนสถานอีกชนิดหนึ่งให้มีบทบาทต่อการทำกิจกรรมให้ศึกษาอบรมทางศาสนธรรม ผ่านสื่อและการผสมผสานวิธีการต่างๆที่เห็นว่ามีประสิทธิภาพ เป็นสื่อและอาคารสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ที่สามารถเดินเข้าไปและก่อเกิดประสบการณ์ที่ลึกซึ้งทางจิตวิญญาณด้วยตนเองได้....



ขอหยิบเอาบางช่วงบางตอนจาก
********พุทธทาสภิกขุ, ฟ้าสางระหว่าง 50 ปีที่มีสวนโมกข์ , ธรรมโฆษณ์ เล่มที่ 46.ง, เรื่องฟ้าสางในทาง-พุทธศิลป, (กรุงเทพมหานคร: การพิมพ์พระนคร, 2529), หน้า 401–412.

ศิลปะกับความงาม
            พุทธทาสภิกขุยังได้กล่าวถึงศิลปะและความงามในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ หรือเป็นวิธีการ เช่น การใช้ชีวิตหรือการดําเนินชีวิต ถ้าการใช้หรือวิธีการที่ใช้นั้นมีผล ออกมาเป็นความสุขไม่ก่อให้เกิดทุกข์ ก็เป็นศิลปะอย่างยิ่ง ท่านเรียกว่าศิลปะของการดํารง ตนอยู่เหนือทุกข์หรือเหนือปัญหาทั้งปวง ข้อความท่ีท่านได้กล่าวไว้มีใจความว่า ศิลปะ มี ความงดงามอยู่ในเนื้อตัวของศิลปะ ที่ควรสนใจที่สุด หรือมีความงามอย่างสูงสุด ก็คือศิลปะ แห่งการดํารงตนอยู่เหนือความทุกข์ ถ้าใช้คําส้ัน ๆ ก็ต้องพูดว่า การดํารงตนอยู่เหนือความ ทุกข์หรือปัญหาทั้งปวง ถ้าท่านเข้าใจก็จะมองเห็นได้ทันทีว่า มันเป็นเคล็ดหรือเป็นเคล็ดลับ ในการใช้ความงามเป็นเครื่องแก้ปัญหา หรือว่าการแก้ปัญหานั้น ก็มีเคล็ดลับหรือความ งาม อยู่ในตัวมันเองด้วย
            ตามข้อความนี้แสดงให้เห็นว่า พุทธทาสภิกขุมีทัศนะทางปรัชญาศิลปะที่เชื่อว่า ความงามอยู่ที่ศิลปะ ความงามไม่ได้อยู่ที่จิตใจ และไม่ใช่เป็นสิ่งที่มีอยู่แบบอุดมคติ ซึ่ง ท่านได้กล่าวไว้ว่า มีความงามอยู่ในเนื้อตัวของศิลปะ แต่ท่านได้ขยายความต่อไปว่า เป็น เคล็ดลับในการใช้ ซึ่งการใช้นั้นมีความงามอยู่ในตัวของมันเอง ซึ่งอาจจะหมายถึงว่าความงามไม่ใชรอยู่ที่วัตถุหรือศิลปะ แต่ความเป็นศิลปะนั้นอยู่ที่การใช้ เมื่อใช้เป็นใช้ถูกก็แก้ปัญหา ได้ นั่นเป็นศิลปะและมีความงามอยู่ที่การใช้ ตามคํากล่าวนี้ไม่ใช่หมายความว่าเป็นการใช้ ศิลปะแต่เป็นศิลปะของการใช้ ความงามจึงไม่ใช่สิ่งที่ถูกสร้างขึ้น หรือทําให้มีขึ้นด้วยการ สร้างศิลปะหรือการใชีศิลปะ เพราะพุทธทาสภิกขุกล่าวว่า การใช้นั้นมีความงามอยู่ในตัว
             พุทธทาสภิกขุได้กล่าวถึงการทําวัตถุให้มีความงามที่เรียกกันว่าเป็นศิลปะนั้นว่า เป็นการใช้ประโยชน์จากความงาม ด้วยเหตุที่ความงามนั้นเป็นที่ถูกใจและชอบใจของคน ทั่วไป การใช้ประโยชน์จากความงามนั้น มีจุดมุ่งหมายหรือเจตนาของผู้ใช้ศิลปะนั้นแฝงอยู่ ซึ่งพุทธทาสภิกขุกล่าวว่า เป็นการเปลี่ยนจากจุดมุ่งหมายเพื่อชีวิตหรือเพื่อจิตวิญญาณ ไป เป็น การสร้างแรงจูงใจหรือดึงดูดจิตใจของผู้คนให้หันไปหลงใหลกับความงามความเป็น ศิลปะ เพื่อประโยชน์อื่น เช่น เพื่อขายสินค้า เป็นต้น ซึ่งในข้อนี้พุทธทาสภิกขุไม่ได้ปฏิเสธว่า การทําเช่นน้ันไม่ใชรการสร้างศิลปะ พุทธทาสภิกขุยอมรับว่ามีความเป่นศิลปะอยู่จริง แต่ ท่านปฏิเสธศิลปะนั้นเมื่อมองหาประโยชน์จากมันไม่ได้ ในข้อนี้ท่านได้กล่าวไว้ว่า เมื่อ มองดูกันในทางนามธรรม ทางจิตใจ และทางสติปัญญาด้วย ก็จะเห็นว่าความงดงามน่า เลื่อมใสที่สุดของมนุษย์เรา ก็คือการที่สามารถดํารงตนอยู่เหนือความทุกข์ ทีนี้มันก็เปลี่ยน เป็นจนเอามาใช่เพื่อความหลอกลวง ความเอาเปรียบผู้อื่น เพื่อได้กําไรมาก คําว่า ศิลปะ เลยกลายเป็นมีความหมายที่น่ารังเกียจ ภาษาไทยใช้รวม ๆ กัน ศิลปะบริสุทธิ์ กับศิลปะ หลอกลวง แต่ภาษาฝรั่งเขามีการแยกกันไม่ปนกัน คือมันเป็นศิลปะที่น่าเลื่อมใส ก็เรียกไป อย่างหนึ่ง ศิลปะที่หลอกลวง ของเทียม ของปลอมอย่างนี้ ก็เรียกว่าของศิลปะหลอกลวง นี้ก็ใช่ไปอีกอย่างหนึ่ง มีคําว่า artistic ศิลปะแท้ ศิลปะจริง มีคําว่า artificial หมายถึงศิลปะ ปลอมศิลปะเพื่อการหลอกลวง ศิลปะจริงกลายเป็นไม่ค่อยจะมีคนสนใจ หรือให้ความ เคารพ มาหลงใหลในศิลปะปลอมกันเสียโดยมาก ดังนั้นมันจึงมีของที่ลวงตา พรางตา ให้ หลงใหล แลีวก็หลงใหลกันไปท้ังโลกก็ว่าได้ มันก็ลดจากเร่ืองทางจิตใจอันสูงสุด มาเป็นเร่ือง ทางวัตถุ เช่นสินค้าต่าง ๆ เป็นเร่ืองของความงมงายหลงใหลของบุคคลผู้ซื้อหาผู้พอใจ แล้ว ในที่สุดกลายเป็นเรื่องเกินจําเป็น เกินจําเป็น หลงใหลในความสวยความงาม ความ หลอกลวงนี้ มากเกินจําเป็น แล้วก็รู้จักกันแต่ในด้านวัตถุมากขึ้นทุกที อาตมาบอกแล้วว่า ยอดของศิลปะน้ัน เป็นเรื่องดํารงชีวิตจิตใจให้อยู่เหนือความทุกข์นี่เป็นศิลปะสูงสุดใน พระพุทธศาสนา เรียกว่าเป็นศิลปะของชาวพุทธ ชาวพุทธที่แท้จริง จะต้องมีศีลปะในการที่ ช่วยกันปลดเปลื้องความทุกข์ในทางจิตทางใจ หรือปัญหาของสังคม เดี๋ยวนี้เมื่อมันเปลี่ยนไปเป็นเรื่องทางวัตถุ ศิลปะของชาวพุทธเลยกลายเป็นเรื่องทางวัตถุ เช่นโบสถ์สวย ๆ เจดีย์สวย ๆ พระพุทธรูปสวย ๆ เป็นต้น
              ข้อความที่นํามากล่าวข้างต้นนี้แสดงให้เห็นว่า พุทธทาสภิกขุมองศิลปะว่ามี 2 แบบ คือ ศิลปะทางวัตถุอย่างหนึ่ง กับศิลปะทางจิตวิญญาณอีกอย่างหนึ่ง และศิลปะนั้นมี จุดมุ่งหมายสองอย่าง คือ ศิลปะเพื่อให้ความเพลิดเพลินความถูกใจชอบใจ เป็นความงาม ที่รู้สึกได้สัมผัสได้ทางประสาทสัมผัสรับรู้ที่เรามี คือ ทางอายตนะทั้ง ๕ อย่างหนึ่ง กับศิลปะ เพื่อให้ความงามที่สัมผัสได้ทางจิตวิญญาณอย่างหนึ่ง และพุทธทาสภิกขุได้กล่าวไว้ว่า ธรรมในพระพุทธศาสนานั้น มีความงามเป็นความงามอย่างยิ่งทั้งในส่วนเบื้องต้นท่ามกลาง และเบื้องปลาย ด้วยเหตุที่ธรรมนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อชีวิตและจิตวิญญาณของมนุษย์ ซึ่ง พุทธทาสภิกขุได้กล่าวไว้อีกตอนหนึ่งว่า ทีนี้จะดูสิ่งที่เรียกว่า ศิลปะ ที่เกี่ยวกับธรรมะใน พระพุทธศาสนาของเรา ดังท่ีมปี รากฏอยู่ในพระบาลี แล้วก็เป็นคําตรัสของพระพุทธเจ้าเอง ท่านตรัสว่า พรหมจรรย์นี้มีความงาม พรหมจรรย์ การปฏิบัติดับทุกข์นี้มีความงาม งามทั้ง เบื้องต้น งามทั้งท่ามกลาง และงามทั้งเบื้องปลาย งามเบื้องต้น งามท่ามกลาง งามเบื้อง ปลาย “ท่านจงประกาศพรหมจรรย์ให้สมกับที่ว่า พรหมจรรย์น้ีมีความงามเบื้องต้น ท่ามกลาง และเบ้ืองปลาย” ในเบ้ืองต้นเราหมายถึงปริยัติ การศึกษาเล่าเรียน เรียนพระธรรม เรียนให้รู่จริงให้งดงาม เช่นเรียนพระไตรปิฎก ถ้ารู้จริงนี้งดงามอย่างยิ่ง ในทางของการเรียน แล้วก็จงปฏิบัติให้งดงาม คือปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญา ให้ครบถ้วนบริบูรณ์นี้เรียกว่างามใน ท่ามกลาง แล้วงามในเบื้องปลายก็คือ ผลที่เกิดขึ้นมาจากการปฏิบัติ เป็นโลกุตตรธรรม อยู่ เหนือโลก เหนือปัญหา เหนือความทุกข์ ถึงขนาดอยู่เหนือโลก เหนือปัญหา เหนือความทุกข์ และจะไม่ให้งามได้อย่างไร แล้วมันจะมีงามอะไรไหนจะมางามยิ่งไปกว่า อยู่เหนือโลก เหนือ ความทุกข์เหนือปัญหา โดยประการทั้งปวง ที่เรียกว่ามรรค ผล นิพพาน นั่นแหละงามในเบื้อง ปลายงามในเบื้องต้น คือปริยัติ เรียนพระไตรปิฎกกันก็แล้วกัน พระสุตตันตะ วินัย และ อภิธรรม แล้วงามตรงกลาง ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา แล้วงามในท่ีสุดก็คือ มรรค ผล นิพพาน มันจะรู้สึกงามแต่ผู้ที่มีจิตใจ หรือมีตาทางปัญญาทางจิตใจ จึงจะมองเห็นว่ามีความงาม อย่างไร ต้องครบถ้วน ต้องงามครบถ้วนทั้งเบื้องต้น ทั้งท้ามกลาง ทั้งเบื้องปลาย ถ้าไม่งามทั้ง 3 สถานแล้ว ยังไม่ชื่อวราบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง ไมรหมดจดสิ้นเชิง ไม่เต็มเปรี่ยมสิ้นเชิง มัน ครึ่ง ๆ กลาง ๆ ต้องให้งามทั้งเบื้องต้นท่ามกลาง และเบื้องปลาย จึงจะเรียกว่าบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงดังนั้น พุทธบริษัทแท้จริงต้องมีความงาม พุทธบริษัทแท้จริงต้องมีความงาม ใน การเล่าเรียน ในการศึกษา ในการปฏิบัติ หรือจะพูดอีกอย่างหนึ่งก็ได้คือเอาประโยชน์เป็น หลัก ก็พูดว่า ประโยชน์ในทิฏฐธรรม คือเห็น ๆ กันอยู่อย่างคนธรรมดา นี้ก็งาม แล้วที่สูงเหนือ ไปกวีาธรรมดา ที่คนธรรมดามองไม่เห็น แต่คนมีปัญญามองเห็น นี้ก็งาม แล้วก็่งามสูงสุด งามสูงสุด คอื ถึงการ-บรรลุมรรค ผล นิพพาน นั้นก็เป็นความงามอันสุดท้ายพูดกันภาษาธรรมดาก็งาม พูดกันภาษาพิเศษก็งาม แล้วก็พูดถึงระดับสุดท้าย สูงสุด ไม่มีอะไรจะเหนือไปกว่านั้นอีก มันก็งาม ต้องเป็นอย่างนั้น อย่างอยู่อย่างชาวโลก ทํา มาหากินไม่ยากไมรจนอยู่กันสบายนี้ก็งาม แล้วก็มีคุณธรรมพอตัวนี้ก็งาม แล้วก็ดับทุกข์ สิ้นเชิงไม่มีเหลือ นี้ก็งาม ถ้าเกี่ยวกับธรรมะความงามมันมีอยู่อยาางน้ีจากปัญหาที่ว่าในโลกนี้เจริญไปในทางวัตถุ หลงไปในทางวัตถุมากขึ้น ๆ มันก็ เลยเปลี่ยนความหมายของความงาม ความงามเปลี่ยนความหมาย หรือว่ามนุษย์เปลี่ยน ความหมายของความงาม ก็ตามใจ แล้ว แต่จะพูด ความงามมันไปอยู่ท่ีวัตถุ ไปอยากที่สิ่ง ส่งเสริมกิเลส แต่ก่อนนี้ความงามแท้จริงอยู่ที่หมดกิเลส ชนะกิเลส เดี๋ยวนี้มามีความงามกันที่ สิ่งเสริมกิเลสเป็นเหยื่อของกิเลสความสวยงามทางรูปเสียงกลิ่น รสโผฏฐัพพะมางามกัน อยู่ที่นี่ นี้ก็หมายความว่า แทนที่จะใช้ศิลปะยกตนให้สูงเหนือกิเลส มันกลายเป็นใช้ศิลปะ ใน การกดตัวเอง ดึงตัวเองลงไปในทางตํ่า ทําให้โลกนี้มันจมอยู่ภายใต้เหย่ือของกิเลส ที่เรียกว่า กาม ตกอยู่ใต้อํานาจของกาม อันเป็นเหตุให้เกิดวิกฤตการณ์คือความยุ่งยากสับสนทนทุกข์ ทรมานนานาประการ แล้วยิ่งเป็นที่ลุ่มหลงกันมากขึ้น ความงามในทางเหยื่อของกิเลส สางเสริมกิเลส กําลังเป็นที่ลุ่มหลงกันมากขึ้น ๆ ในโลกน้ี ทั้งโลกก็ว่าได้ แล้วพุทธบริษัทก็พลอย ติดหางกับเขาด้วย พุทธบริษัทที่เคยมีะไรเป็นของตน ก็พลอยหมองติดพ้วงเข้าไปในความ หลงผิดเหล่านี้ด้วย นี้เรียกว่า ศิลปะปลอมกําลังชนะศิลปะแท้ ศิลปะสกปรกกําลังชนะศิลปะ สะอาด ศิลปะที่ส่งเสริมความทุกข์กําลังชนะศิลปะที่จะดับทุกข์ เป็นที่นาาเวทนาสงสาร อย่างไร ขอใหัท่านทั้งหลายลองคิดดู ศิลปะปลอมกําลังระบาด เจริญรุ่งเรืองในโลก ยกตัวอย่างให้ง่ายซ่ึงเด็ก ๆ ก็จะเข้าใจได้อย่า เดี๋ยวน้ีจะทํากับข้าวให้อร่อยกใส่ผงชูรสกันมาก ๆ แล้วก็อรอยเพราะผงชูรส แมม่ครัวเกือบจะแกงให้อร่อยโดยไม่ต้องใส่ผงชูรสไม้ได้เสียแล้วเมื่อก่อนนี้เขาไม่ต่องใสผงชูรส ก็ทําให่แกงกับนั้นอร่อยได้ เดี๋ยวนี้มันจะทําไม่ได้เสียแล้ว เพราะมันลืมไป มันสูญหายไป จนต้องใช้ศิลปะลวง คือผงชูรส แล้วหมอเขาก็กําลังบอกว่า มันอันตราย นี่เราไม่ค่อยจะดูกันให้ดี ๆ ว่า ศิลปะหลอกลวงกําลังครอบงําศิลปะบริสุทธิ์ แล้ว มนุษย์ก็จะต้องจมลงในกองทุกข์มากขึ้นไปกว่าเดิมการปฏิบัติ ก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ที่พระพุทธเจ้าท่านได้ทรงสอนไว้ ให้ว่า บรรเทากิเลสได้จริง ดับกิเลสได้จริง ดับทุกข์ได้จริง อย่าปฏิบัติให้เป็นสีลัพพัตต ปรามาส คือมีควาโง่เขลางมงาย ปฏิบัติกันอย่างงมงายไม่ขูดเกลากิเลสเลย แต่ส่งเสริม ความงมงาย

ตามข้อความที่ยกมากล่าวให้เพื่อนได้อ่านในข้างต้นนี้แสดงให้เห็นว่า  ท่านพุทธทาสภิกขุ ต้องการให้ ผู้ใช้ศิลปะและผู้บริโภคศิลปะแยกแยะให้ออกว่าเป็นศิลปะแบบไหน มีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร โดยเฉพาะสังคมชาวพุทธนั้น ให้ความสําคัญกับศิลปะแบบไหน การแยกแยะและให้ ความสําคัญกับศิลปะดังกล่าว เป็นการให้คุณค่าแก่ศิลปะ ซึ่งพุทธทาสภิกขุมีความเห็นว่า ศิลปะเพ่ือจิตวิญญาณมีคุณค่ามากกว่าศิลปะเพื่อสนองอารมณ์ความรู้สึกพอใจชอบใจในสิ่ง สวยงาม...




แล้วพบกันใหม่โอกาสถัดไป....สวัสดี



สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์



ศิลป์-ศิลปะ โดย Nattinun Boonreang อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.

อยู่บนพื้นฐานของงานที่ http://5107896-art.blogspot.com/2013/08/normal-0-false-false-false-en-us-ja-th.html.
การอนุญาตนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในสัญญาอนุญาตนี้ อาจมีอยู่ที่ http://5107896-art.blogspot.com/2013/08/normal-0-false-false-false-en-us-ja-th.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น